เครื่อง aed ย่อมาจาก คืออะไร มีที่ไหนบ้าง

 
เครื่อง AED มี 2 ชนิด คือ      
Fully Automatic เครื่องทำงาน วิเคราะห์ และปล่อยกระแสไฟฟ้าเพื่อกระตุกหัวใจอัตโนมัติ     
Semi Automatic เครื่องจะไม่ปล่อยกระแสไฟฟ้าเข้าไปกระตุกหัวใจอัตโนมัติ ผู้ใช้งานต้องกดปุ่มเอง
 
เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED (Automatic External Defibrillator) อุปกรณ์ทางการแพทย์ชนิดนี้กำลังแพร่หลายและเป็นที่นิยม มักถูกติดตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลในจุดที่มีผู้มาใช้บริการจำนวนมากๆ และในเขตชุมชนต่างๆ เช่น สนามบิน สนามกีฬาห้างสรรพสินค้า ฯลฯ  

เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ AED (Automatic External Defibrillator) เป็นอุปกรณ์ที่สามารถ “อ่าน” และ “วิเคราะห์” คลื่นไฟฟ้าหัวใจของผู้ป่วยได้อย่างแม่นยำ รวมทั้งให้รักษาได้ โอกาสที่จะรอดชีวิต ของผู้ป่วยนั้นขึ้นอยู่กับว่า เราสามารถใชเครื่อง AED ร่วมกับ ทำการช่วยฟื้นชีวิต ขั้นพื้นฐานโดยการกดหน้าอกได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพียงใด และควรตระหนักไว้ว่าเวลาทุกๆ นาทีที่ผ่านไปนั้นมีค่าอย่างยิ่งต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วย 

การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ หรือ เออีดี  เราจะใช้เครื่องเออีดีในสถานการณ์ใด      

กรณีผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวและหมดสติ 
กรณีผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอก สงสัยว่าโรคหัวใจกำเริบที่ไม่รู้สึกตัวและหมดสติ     
กรณีผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุจากการถูกไฟฟ้าช็อกที่ไม่รู้สึกตัวและหมดสติ  

วิธีการใช้เครื่อง AED (เครื่องอาจมีหลายแบบหลายยี่ห้อ แต่การใช้งานเหมือนกัน) การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ หรือ เออีดี  

1.  เปิดเครื่อง ในเครื่อง AED บางรุ่นท่านต้องกดปุ่มเปิดเครื่อง ในขณะที่เครื่องบางรุ่นจะทำงานทันทีที่เปิดฝาครอบออก เมื่อเปิดเครื่องแล้วจะมีเสียงบอกให้รู้ว่าท่านต้องทำอย่างไรต่อไปอย่างเป็นขั้นตอน การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ หรือ เออีดี  

2.  ติดแผ่นนำไฟฟ้า เข้ากับหน้าอกของผู้ป่วย ติดแผ่นนำไฟฟ้าของเครื่องเออีดีเข้ากับหน้าอกของผู้ป่วยให้เรียบร้อย ในกรณีจำเป็นท่านสามารถใช้กรรไกรตัดเสื้อของผู้ป่วยออกก็ได้ กรรไกรนี้จะมีเตรียมไว้ให้ในชุดช่วยชีวิต (กระเป๋า AED) อยู่แล้ว ต้องให้แน่ใจว่าหน้าอกของผู้ป่วยแห้งสนิทดี ไม่เปียกเหงื่อ หรือเปียกน้ำ แผ่นนำไฟฟ้าของเครื่อง AED ต้องติดแนบสนิทกับหน้าอกจริงๆ ถ้าจำเป็นท่านสามารถใช้ผ้าขนหนูซึ่งจะมีเตรียมไว้ให้ในชุดช่วยชีวิต เช็ดหน้าอกของผู้ป่วยให้แห้งเสียก่อน การติดแผ่นนำไฟฟ้าของเครื่อง AED นั้นเริ่มด้วยการลอกแผ่นพลาสติกด้านหลังออก ตำแหน่งติดแผ่นนำไฟฟ้าดูตามรูปที่แสดงไว้ เครื่องบางรุ่นมีรูปแสดงที่ตัวแผ่นนำไฟฟ้า บางรุ่นก็มีรูปแสดงที่ตัวเครื่อง ต้องติดให้แนบสนิทกับหน้าอกของผู้ป่วยด้วยความรวดเร็ว แผ่นหนึ่งติดไว้ที่ใต้กระดูกไหปลาร้าด้านขวา และอีกแผ่นหนึ่งติดไว้ที่ใต้ราวนมซ้ายด้านข้างลำตัว ตรวจดูให้แน่ใจว่าสายไฟฟ้าจากแผ่นนำไฟฟ้าต่อเข้ากับตัวเครื่องเรียบร้อย การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ หรือ เออีดี  

3.  ให้เครื่อง AED วิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระหว่างนั้นห้ามสัมผัสถูกตัวผู้ป่วยโดยเด็ดขาด ให้ท่านร้องเตือนดังๆ ว่า “เครื่องกำลังวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจ ห้ามแตะต้องตัวผู้ป่วย”เครื่อง AED ส่วนใหญ่จะเริ่มวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจทันทีที่ติดแผ่นนำไฟฟ้าเสร็จ เครื่องบางรุ่นต้องให้กดปุ่ม “ANALYZE” ก่อน  การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ หรือ เออีดี     

4.  ห้ามแตะต้องตัวผู้ป่วย ถ้าเครื่อง AED พบว่าคลื่นไฟฟ้าของผู้ป่วยเป็นชนิดที่ต้องการการรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้าหัวใจ เครื่องจะบอกให้เรากดปุ่ม “SHOCK” และก่อนที่เราจะกดปุ่ม “SHOCK” ต้องให้แน่ใจว่าไม่มีใครสัมผัสถูกตัวของผู้ป่วย 

การใช้เครื่องช็อกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ หรือ aed ทำการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับช่วยหายใจ 2 ครั้ง ประมาณ 2 นาที หรือจนกว่าเครื่อง AED จะวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้าหัวใจอีกครั้ง แล้วกลับไปยังข้อ 3 และ 4 สำหรับขั้นตอนที่ 1 และ 2 ไม่ควรใช้เวลาเกิน 30 วินาทีและทำการช่วยเหลือรอจนกว่าความช่วยเหลืออื่นๆ จะตามมา
 
 
Visitors: 20,662